วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

แต่งฉันท์

                      


            สาลินี ฉันท์๑๑

              วาโยพัดผ่านพ้น        และผู้คนที่เดินไป

       แลมองสวนดอกไม้         ก็ชื่นชมผกามาศ

       พฤกษาในสวน               ทิพากรสว่างวาด

       ธาราเรียบไหลผ่าน         ทวิชบินพะงาลัย

 


วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2563

การเผยแพร่ข้อมูลonline


☉ หลักการเผยแพร่ข้อมูล online

      1.ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภานในการเผยแพร่
      2.ต้องการคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มเป้าหมาย หมายถึงกลุ่มคนที่เราต้องการให้รับรู้และให้ได้รับปนะโยชน์จากการรับรู้สารสนเทศ
      3.ต้องเลือกใช้สื่อ  และรูปแบบที่เหมาะสม ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสม  มีความหลากหลายรูปแบบ คุ้มค่าที่สุด
      4.ต้องคำนึงถึงประเด็นทางกฏหมาย และความรับผิดของผู้ของผู้เผยแพร่ หาก เผยแพร่สารสนเทศแล้วทำให้ผู้อื่นเสียหาย ผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ. 2550

   ข้อดี😄
  1. สามารถแลกเปลี่ยนและศึกษาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็ว – ด้วยความที่ยุคนี้อินเตอร์เน็ตคือสิ่งที่สามารถทำได้เราทำอะไรได้อย่างรวดเร็ว social media เองจึงกลายเป็นตัวกลางที่จะเอาไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว ทันใจ
  2. สะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย – ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาความรู้ การติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นสามารถทำได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องเสียเงินอะไรมาก
  3. สามารถแสดงสิ่งต่างๆ ของตัวเองให้คนอื่นได้เห็นได้ – ความสามารถทุกอย่างสามารถแสดงผ่าน social media ได้ และหากเป็นที่ถูกใจคนอื่นก็จะได้รับความนิยมจนกลายเป็นคนดังไปอย่างง่ายๆ
  4. สร้างรายได้ให้กับผู้ใช้งาน – ตรงจุดนี้เราเห็นได้ชัดเจนมากในปัจจุบัน ทั้งการขายของออนไลน์ การรับงานต่างๆ ผ่าน social media เหล่านี้ล้วนสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ใช้งานกันมานักต่อนักแล้ว
  5. ทำให้ติดต่อคนที่ห่างไกลหรือไม่ได้ติดต่อกันนานได้ง่าย – นอกจากนี้ยังรวมไปถึงยังสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้ได้แม้ไม่ได้อยู่ด้วยกันก็ตามที
  6. เป็นช่องทางการตลาดรูปแบบใหม่ – องค์กรหลายๆ แห่งหันมาให้ความสำคัญกับ social media เป็นอย่างมากในการสร้างเป็นช่องทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อขายสินค้าหรือบริการ

ข้อเสีย😡
  1. ล้วงลึกข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป – เราจะเห็นว่าการสมัครบัญชีผู้ใช้งานแต่ละครั้งจำเป็นต้องรู้ข้อมูลส่วนตัวซึ่งมันสามารถหลุดหรือแพร่กระจายไปได้
  2. โดนหลอกจากการใช้ social media – เห็นกันอยู่บ่อยๆ อาทิ หลอกลวงไปทำมิดีมิร้าย หลอกขายสินค้า สิ่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้บน social media เพราะมันไม่ได้เห็นหน้าตา ไม่รู้นิสัยใจคอที่แท้จริงต่อกัน
  3. โดนละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานต่างๆ ได้ง่าย – การที่คุณแม้แต่ลงรูปหรือผลงานต่างๆ หากไม่ใส่ลายเซ็นหรือจุดเด่นของตัวเองลงไปก็อาจโดนเอาสิ่งเหล่านั้นไปทำอย่างอื่นโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น เอาไปตัดต่อเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เป็นต้น
  4. ทำให้หมกมุ่นจนเกินเหตุ – บางคนติด social media มากจนเสียงาน เสียการเรียน ก็มีให้เห็นเยอะแยะไป จึงควรเล่นแต่พอดี


⏩ตัวอย่างเช่น⏪















การพิจารณาข่าวจริง ข่าวปลอม




    ★ 10 วิธีการพิจารณาข่าวจริงข่าวปลอม

                1.อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่สะดุดตาที่ใช้ตัวหนาและเครื่องหมายอัคเจรีย์ (!) หากหัวข้อข่าวฟังดูหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นก็น่าจะเป็นข่าวปลอม
                2.พิจารณาลิงค์อย่างถี่ถ้วน ลิงก์ปลอมหรือลิงก์ที่ดูคล้ายลิงก์จริง อาจเป็นสัญญาณเตือนของข่าวปลอม เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากปรับเปลี่ยนลิงก์เล็กๆ น้อยๆ เพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง คุณสามารถไปที่เว็บไซต์และเปรียบเทียบลิงก์นั้นกับลิงก์ของแหล่งข่าวที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือได้
                3. ตรวจสอบแหล่งข่าว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเรื่องราวนั้นเขียนขึ้นโดยแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือและมีชื่อเสียงด้านการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หากเรื่องราวนั้นมาจากแหล่งข่าวที่คุณไม่รู้จัก ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” ของเพจแหล่งข่าวนั้นเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
                4.สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ เว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ หากคุณเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าวอย่างระมัดระวัง
                5. พิจารณารูปภาพ ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวีดีโอที่ถูกบิดเบือน บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริงแต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว คุณสามารถค้นหารูปภาพนั้นเพื่อตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรูปภาพได้ 
                6.ตรวจสอบวันที่ ข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผลหรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์
                7.ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าแหล่งข้อมูลนั้นถูกต้อง ข่าวที่ไม่มีหลักฐานหรืออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ระบุชื่ออาจชี้ให้เห็นว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม
                8.เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่นๆ หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นที่รายงานเรื่องเดียวกัน ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าข่าวนั้นอาจเป็นข่าวปลอม ถ้าข่าวนั้นมีการรายงานจากหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือก็เป็นไปได้ว่าข่าวนั้นจะเป็นข่าวจริง
                9.ข่าวนั้นเป็นมุกตลกหรือไม่ บางครั้งเราก็แยกข่าวปลอมออกจากมุกตลกหรือข่าวเสียดสีได้ยาก ตรวจสอบดูว่าเรื่องนั้นมาจากแหล่งที่มาที่ขึ้นชื่อเรื่องล้อเลียนและเสียดสีข่าวหรือไม่ และพิจารณาว่ารายละเอียด ตลอดจนน้ำเสียงในการเล่าเรื่องฟังดูเป็นไปเพื่อความสนุกสนานหรือไม่
               10.บางเรื่องก็จงใจสร้างขึ้น ให้เป็นข่าวปลอม ใช้วิจารณญาณในการอ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่คุณแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น


⏩ตัวอย่างเช่น⏪












วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563

การเลือกซื้อสินค้า online


  🔳 6 วิธีการเลือกซื้อสินค้า online 
 
ได้แก่
        🔸1.ตรวจสอบเว็บไซต์ของร้านค้า online วิธีการจดทะเบียนอิเล็กทรอนิดส์หรือไม่    
        🔸2.เลือกซื้อสินค้าที่ได้รับความนิยม มีเสียงตอบรับที่ดี เชื่อถือได้
        🔸3.เลือกซื้อสินค้าในเว็บไซต์ ที่มีอายุขายมากกว่า1ปี
        🔸4.ตรวจสอบการตอบคำถาม ของผู้ขายของออนไลน์
        🔸5.ดูเงื่อนไขการรับประกันสินค้าหรือบริการส่งกากรขาย
        🔸6.สินค้าที่สนใจ ไม่ควรเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย

⏩ตัวอย่างเช่น⏪

แต่งฉันท์

                                   สาลินี ฉันท์๑๑               วาโยพัดผ่านพ้น        และผู้คนที่เดินไป        แลมองสวนดอกไม้         ก็ชื่...